top of page

BCI เตรียมความพร้อมเรื่องความปลอดภัย จัดงานสัมมนา “Awareness in Blockchain Technology”

สร้างความเชื่อมั่นให้แก่สมาชิกผู้ใช้บริการหนังสือค้ำประกันอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบบล็อกเชน


บริษัท บีซีไอ (ประเทศไทย) จำกัด เล็งเห็นถึงความสำคัญเรื่องความปลอดภัยในการใช้งานแพลตฟอร์มหนังสือค้ำประกันอิเล็กทรอนิกส์ด้วยเทคโนโลยีบล็อกเชน จึงได้จัดงานสัมมนาในหัวข้อ “Awareness in Blockchain Technology” ขึ้น ณ โรงแรม Veranda Resort Pattaya Na Jomtien - MGallery ในวันที่ 17 ตุลาคม 2563 ที่ผ่านมา ซึ่งได้รับความสนใจจาก บริษัทผู้ใช้บริการหนังสือค้ำประกันอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบบล็อกเชน รวม 9 บริษัท ได้แก่ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค, การไฟฟ้าฝ่ายผลิต, บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด, บริษัท พีทีที ดิจิตอล โซลูชั่น จำกัด, บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน), บริษัท จีซี มาร์เก็ตติ้ง โซลูชั่นส์ จำกัด, บริษัท ไทยออยล์ จำกัด, บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด, บริษัท บริดจสโตนเซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด รวมถึงผู้แทนจากสถาบันการเงินและธนาคาร ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารสมาชิกผู้ร่วมทุน 6 ธนาคาร ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน), ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน), ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน), ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน), ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน), ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เข้าร่วมงานสัมมนาครั้งนี้ด้วย

โดยภายในงานได้รับเกียรติจาก คุณอาจารีย์ ศุภพิโรจน์ ผู้อำนวยการฝ่ายเทคโนโลยีทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย และ นายศีลวัต สันติวิสัฎฐ์ ประธานกรรมการ บริษัท บีซีไอ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นประธานกล่าวเปิดงาน




เพื่อถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับกลไกสำคัญของเทคโนโลยี Blockchain ที่จะเข้ามาพลิกโฉมโลกของธุรกรรมออนไลน์ในอนาคต ผ่านมุมมองของนักกฎหมายและผู้พัฒนาระบบบล็อกเชน บริษัท บีซีไอ (ประเทศไทย) จำกัด ได้เรียนเชิญวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ


คุณโสมิกา ภคภาสน์วิวัฒน์ จาก บริษัท เบเคอร์ แอนด์ แม็คเค็นซี่ จำกัด เปิดเผยมุมมองเมื่อ Blockchain ปฏิวัติวงการกฎหมาย ด้วยสัญญาแบบ Smart Contract หรือ สัญญาอัจฉริยะ ผ่านระบบ Blockchain จากข้อเท็จจริงที่ว่า การบันทึกข้อมูลใน Blockchain นั้น เกิดจากโค้ดที่ถูกฝังไว้ “ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงและแก้ไขได้” โค้ดนั้นจะจัดการตามข้อตกลงอัตโนมัติโดยไม่ต้องอาศัยตัวกลาง ทันทีที่เกิดเหตุการณ์ตรงตามเงื่อนไขในสัญญา สัญญาอัจฉริยะจึงมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้สัญญาดั้งเดิมที่เป็นรูปแบบกระดาษ ช่วยลดความซับซ้อนของกระบวนการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องได้ และด้วยข้อมูลที่ถูกบันทึกไว้ใน Blockchain มีที่มาที่ไปชัดเจนนี้ จึงใช้เป็นพยานหลักฐานที่ชอบด้วยกฎหมายและสามารถใช้ประกอบการพิจารณาคดีได้





















คุณญาณวิทย์ รักษ์ศรี จาก กสิกร บิซิเนส - เทคโนโลยี กรุ๊ป (KBTG) ผู้ออกแบบระบบบล็อกเชน กล่าวถึงวิธีการของนักเจาะระบบ (Hacker) ในปัจจุบัน ว่าการโจรกรรมข้อมูลสามารถทำได้หลากหลายซับซ้อนมากขึ้น ดังนั้นปัจจุบันจึงมีการพัฒนาระบบให้มีความปลอดภัยมากขึ้น


คุณญาณวิทย์ รักษ์ศรี ได้เล่าถึงกลไกที่ทำเทคโนโลยีบล็อกเชนมีความปลอดภัย ในการเข้าถึงข้อมูลเพื่อทำการแก้ไข การป้องกันช่องโหว่ของระบบ ถือว่ามีความเหมาะสมเพียงพอที่องค์กรที่มีความต้องการความปลอดภัยของข้อมูลระดับสูงเลือกใช้ รวมไปถึงยังยกตัวอย่างช่องโหว่ว่าส่วนใหญ่เกิดจากรูปแบบใดบ้าง รวมถึงเปิดโอกาสให้พูดคุยและตอบคำถามในครั้งนี้ด้วย



Commentaires


bottom of page